โอไมครอน (Omicron) โควิดสายพันธุ์น่ากังวล แพร่เชื้อเร็ว

686



Omicron อันตรายกับผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนแล้วก็ยังต้องระวัง ถ้าใครครบกำหนดได้รับวัคซีนเข็ม3 ให้รีบไปรับเข็ม 3 ได้เลย อย่ารีรอ!

 

Covid-19 : 4 สายพันธุ์อันตรายในไทยที่ต้องระวัง!

 

Delta Plus เดลต้าพลัส โควิดสายพันธุ์อันตราย

 

เชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด โควิดสายพันธุ์ ​B.1.1.529 หรือ โอไมครอน Omicron ถูกรายงานว่าพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้  ปัจจุบันพบว่ามีการระบาดแล้วในประเทศแอฟริกาใต้, บอตสวานา, เบลเยียม, ฮ่องกง, อิสราเอล, ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, แคนาดา (ข้อมูล ณ วันที่ 29 พ.ย. 2021)

 

เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่เป็นตัวก่อโรคโควิด-19 พบเชื้อกลายพันธุ์ โควิดสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) มีตำแหน่งการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 ตำแหน่ง โดยมีหลักฐานบ่งชี้ว่าอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะทำให้เกิดการกลับมาติดเชื้อซ้ำได้ นอกจากนี้ยังพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (receptor binding domain) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเรามากกว่า 10 ตำแหน่ง ในขณะที่เชื้อโควิดกลายพันธุ์อย่างสายพันธุ์เดลตา (Delta) มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งจะทำให้อาจหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะเป็นภูมิจากวัคซีนแล้วก็ตาม

 

โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน จมูกยังสามารถได้กลิ่น ลิ้นรับรสได้ดี ไม่ค่อยมีไข้ แต่พบว่ามีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปอดอักเสบ (ซึ่งอาการคล้ายกับสายพันธุ์เดลต้า) ปัจจุบันข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะสามารถสรุปได้ว่าอาการจะรุนแรงกว่าหรือไม่

 

อย่างไรก็ตามเราควรเฝ้าจับตามอง และติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันก็ปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุและผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนซึ่งอาจมีผลกระทบจากเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนี้ และสำหรับใครที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด ควรได้รับวัคซีนให้ครบโดส เพื่อลดความรุนแรงของอาการจากการติดเชื้อ

 

8 กลุ่มผู้ป่วยโรคประจำตัว เสี่ยงอาการหนัก หากติดเชื้อโควิด-19

 

กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ หากติดโควิด-19 มีความเสี่ยงอาการหนัก โดยเกือบทุกรายมีอาการรุนแรงและถึงขั้นเสียชีวิต

 

ความดันโลหิตสูง

เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ

เบาหวาน

ไตเรื้อรัง ผู้ป่วยฟอกไต และปลูกถ่ายไต

หอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง

ตับแข็ง ตับอักเสบเรื้อรัง

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

อ้วน

คนที่คุณรักมีโรคประจำตัวที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้หรือไม่? อย่าลืมดูแลและระมัดระวังตนเอง เพราะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว นอกจากประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะในร่างกายมีความเสื่อมลง ภูมิคุ้มกันในร่างกายก็ลดลงด้วย ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสูง หากติดเชื้อโควิด-19 อาจมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไปและถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

 

ข้อมูล :  sikarin.com

 

 

Thaipur talk : ยู.พี.อี. เอ็นจิเนียริ่ง บจก. ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องอัดอากาศ, เครื่องปั๊มลม, เครื่องทำลมแห้ง, ที่กรองลม เครื่องทำลมแห้งแบบใช้สารดูดความชื้น, บู๊ทเตอร์ปั๊ม (Booster), ออโต้เดรนไฟฟ้า, เครื่องผลิตไนโตรเจน (Nitrogen Generator), เครื่องกำจัดน้ำมันในระบบ ผลิตภัณฑ์ Air Compressor, Air Dryer, Compressed Air Filter รับออกแบบให้คำปรึกษา และติดตั้งระบบท่อลมในโรงงานโดยเฉพาะการให้คำแนะนำเกี่ยวกับระบบลมที่มีน้ำมันปนเปื้อน มีน้ำมากและลมไม่สะอาด ทำความสะอาดระบบแอร์ ภายใต้แบรนด์ "DYNA" แห่งเดียวในประเทศไทย เรามุ่งเน้นพัฒนาสินค้าและการบริการหลังการขาย

 

 

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE Thaipurchasing

 

   

sendLINE

Comment