พร้อมเพย์จุดชนวนดิจิตอลแบงค์ โมบาย กำลังมาแทนสาขา
ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสดิจิตอลแบงก์โดยเฉพาะโมบายแบงกิ้งที่เติบโตอย่างรวดเร็วได้เข้ามาแทนที่การทำธุรกรรมที่สาขา ทำให้รอบ 11 เดือนปีนี้ สาขาแบงก์พาณิชย์มีการควบรวมและปิดสาขาลงถึง 51 แห่ง แต่กระนั้นก็ตามนายธนาคารเชื่อว่า อุตสาหกรรมแบงก์ไทย จะเข้าสู่เทรนด์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มตัว และจะส่งผลพฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน เมื่อ“พร้อมเพย์” หรือบริการโอนเงินรูปแบบใหม่ประกาศใช้ โดยปัจจุบันที่มีผู้มาลงทะเบียนแล้ว 19 ล้านบัญชี และจากการเปิดเผยของ วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าภายในไตรมาสแรกปี 2560 จะสามารถให้บริการพร้อมเพย์ได้
ยุทธศาสตร์สาขาแบงค์จะปรับตัวไปในทิศไหนกัน มาดูกัน ! เริ่มจาก กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ.) ที่มีฐานลูกค้าที่ใช้โมบายแบงกิ้งสูงสุดในอุตสาหกรรมร่วม 5 ล้านรายเวลานี้
“พร้อมเพย์” จุดชนวน
นพวรรณ เจิมหรรษา รองกรรมการผู้จัดการ ดูแลสายงานธุรกิจลูกค้าบุคคลและเครือข่ายบริการ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า พฤติกรรมลูกค้าเป็นสิ่งที่ทุกคนติดตามและคาดเดา โดยเฉพาะเมื่อบริการพร้อมเพย์จะเริ่มในปี 2560 ลูกค้าจะได้รับความสะดวกจากการโอน ทำให้การใช้จ่ายเงินสดน้อยลง และการทำรายการเงินสดที่สาขาลดลงรวดเร็วแค่ไหน เป็นเรื่องที่แบงก์ต้องทบทวนและปรับตามพฤติกรรมลูกค้า
ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เห็นคือการใช้โมบายแบงกิ้ง ลูกค้าใช้เติบโตเป็นเท่าตัว โดยฐานลูกค้าแบงก์กสิกรไทยที่ใช้ช่องทางผ่าน K-MOBILE BANKING PLUS ถึงเดือนล่าสุด (พ.ย. 59) มีมากกว่า 4 ล้านรายแล้ว ถึงสิ้นปีน่าจะเพิ่มเป็น 5 ล้านราย และในปี 2560 เราคาดจะเห็นการเติบโตเป็น 7 ล้านราย สิ่งที่เราเห็นชัดเรื่องของรายการที่ไม่ใช่เงินสด คือพวกโอนเงินหรือจ่ายบิล ลูกค้าจะไม่ไปที่ตู้เอทีเอ็มหรือสาขาเหมือนเมื่อก่อน”
นพวรรณกล่าวต่อว่า จากการที่ดิจิตอลเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ดังนั้นในส่วนของช่องทางสาขาของธนาคารกสิกรไทยจะไม่เน้นที่จำนวนสาขา แต่จะเน้นคุณภาพในการให้บริการลูกค้า โฟกัสเรื่องการวางแผนจัดการเรื่องการเงินส่วนบุคคลหรือให้คำแนะนำ เช่นเรื่องการออม การลงทุน สินเชื่อ และการวางแผนการเงินเพื่อตอบโจทย์ในด้านต่าง ๆ ซึ่งกสิกรไทย มีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการเงินส่วนบุคคลหรือ K- Expert กว่า 4,000 คน ที่พร้อมให้คำแนะนำเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า
เชื่อลูกค้าไม่ทิ้งตีจากสาขาเร็ว
ส่วนคำถามที่ว่าในอนาคตจะเห็นสาขาธนาคารพาณิชย์ไทย พัฒนาไปสู่รูปแบบเดียวกับธนาคารในยุโรปในอนาคตหรือไม่ เธอว่า อย่างหนึ่งที่ได้เห็นจากแบงก์ในยุโรปคือ สาขาเปลี่ยนรูปแบบ เพราะลูกค้าสามารถทำรายการต่างๆด้วยตนเองได้ผ่านมือถือ บทบาทสาขาของแบงก์ในยุโรปหลายที่จึงเปลี่ยนเป็นการให้บริการแนะนำ การบริหารการเงินให้ลูกค้า” หรือ Wealth Management แทน -ขณะที่ Transaction จะใช้ช่องทางดิจิตอล “คนไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ตอบรับในเรื่องของเทคโนโลยีมือถือมากขึ้น แต่ก็ยังเชื่อว่าคนไทยยังมีด้านหนึ่งที่อยากคุยกับคน ซึ่งคำว่าคุยกับคนก็เป็นไปได้ว่าไปสาขา คุยผ่านแชต แต่ถามว่าพฤติกรรมลูกค้าไทยจะตามคนในยุโรปหรือไม่ อย่างที่กล่าวว่า ปี 2560 จะเป็นปีที่เราได้เห็นพฤติกรรมคนไทยว่าจะเปลี่ยนไปเร็วแค่ไหน แต่ ณ วันนี้ ในเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์ ยังไม่เห็นลูกค้าอพยพจากที่ใช้สาขามาเป็นมือถือกันหมด”
ทั้งนี้รอบปี 2559 กสิกรไทยได้ควบรวมปิดสาขาลง 15 แห่ง จากสาขาทั้งหมดที่มี 1,107 สาขา และคาดว่าปีหน้าตัวเลขคงไม่ต่างกัน สอดคล้องกับ นายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า K-MOBILE BANKING PLUS เติบโตจากปี 2558 ที่มีประมาณ 2.7 ล้านคน มาเป็น 5 ล้านคนในปีนี้ และปี 2560 คาดจะเติบโตประมาณ 50% อย่างไรก็ดีปริมาณธุรกรรมผ่านสาขา สเกลยังคงที่ หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า การเติบโตของดิจิทอลแบงกิ้ง เข้ามาช่วยเพิ่มยอดการใช้บริการและเฉพาะโมบายแบงกิ้งทำรายได้ให้ธนาคารเกินกว่า 100 ล้านบาท
KKP ดันเป็นไฟแนนเชียลฮับ
ขณะที่แบงก์เล็ก อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวว่า การพัฒนาช่องทางบริการก็เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าหลักของ KKP คือในกลุ่มลูกค้าขนาดกลาง ( Mass Affluent) และลูกค้าขนาดใหญ่หรือ High Net Worth (HNW) ซึ่งบริการหลักของลูกค้ากลุ่มนี้จะเป็นการให้บริการที่ปรึกษาการเงินและการจัดการลงทุนที่หลากหลาย จึงต้องเน้นพื้นที่ที่ให้บริการ แบ่งเป็น
1. Financial Hub ศูนย์บริการการเงินและการลงทุนเต็มรูปแบบ มีผลิตภัณฑ์และบริการของกลุ่ม KKP (ธ.เกียรตินาคิน,บล.ภัทรฯ และบลจ.ภัทรฯ) เบื้องต้นมี 3 สาขาคือ สาขาเซ็นทรัล เวิลด์,ทองหล่อ และเยาวราช (เริ่มให้บริการในรูปแบบ Financial Hub ต้นปี 2561) และ 1.2 สาขาทั่วไป สามารถทำธุรกรรมทุกประเภท และนำเสนอบริการของกลุ่มในลักษณะ referral (แนะนำต่อ)
2.การพัฒนาช่องทางดิจิตอล จะเน้นรูปแบบที่หลากหลาย ในเบื้องต้น KKP จะเป็นการทำให้ทัดเทียมกับคู่แข่งในอุตสาหกรรม แต่ได้ลงทุนพัฒนารูปแบบใหม่เพื่อให้สามารถบริการ การให้คำปรึกษาทางการเงิน จากทีมงานส่วนกลาง ( Centralized Advisory Services)ผ่านช่องทาง ออนไลน์ในลักษณะ Virtral branch ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาพัฒนา หากความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ คาดว่าจะสามารถทดลองให้บริการได้ในปี 2561 “KKP จะไม่เน้น จำนวนสาขา แต่จะมีในพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพเท่านั้น ต้องมีปริมาณเงินและการลงทุนของกลุ่มเป้าหมายที่หนาแน่นพอ” ซีอีโอ KKP กล่าว
CIMB ตอบโจทย์ช่องบริการ
ส่วนแบงก์ลูกครึ่งอย่าง “ซีไอเอ็มบีไทย “ ที่ล่าสุดเปิดสาขาย่อย ใน 7-Eleven แห่งแรกที่โรงเรียนสีตบุตรบำรุงใช้พื้นที่เพียง 3-4 ตารางเมตร พนักงานแบงก์ 1 คน และมีแผนปี 2560 จะเปิดเพิ่มใน 7-Eleven อีก 20-30 สาขา ให้บริการการเงินเพื่อรายย่อย ยกเว้นเรื่องการถอนเงินหรือฝากเงินจำนวนมาก ๆ
อดิศร เสริมชัยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจรายย่อย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ปีหน้าจะเห็นชัดว่าพฤติกรรมลูกค้าจะเปลี่ยนไปใช้ช่องบริการไหน และจะตอบได้ว่าสาขาแบงก์ทั้งระบบ 7,000 แห่งมากเกินหรือต้องควบปิดสาขาเพิ่มแค่ไหน ผมมองแนวโน้มสาขาแบงก์ต่อไปจะมีขนาดเล็กลง หันมาเน้นช่องทางดิจิตอลแบงก์มากขึ้น หรือช่องทางผ่านร้านสะดวกซื้อ โดยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซีไอเอ็มบีไทย ได้ลดจำนวนสาขาจากที่มี 160 สาขา เหลือ 91 สาขาในปัจจุบัน
ยุทธศาสตร์สาขาของซีไอเอ็มบีไทย แบ่งเป็น 1.เพื่อลูกค้ารายใหญ่,ผู้ประกอบการ, ลูกค้าลงทุน บริการที่ปรึกษาทางการเงิน จะใช้บริการผ่านสาขาเป็นหลัก 2.ผ่านช่องทางดิจิตอลแบงกิ้ง/ โมบายแบงกิ้ง และ 3.ร้านสะดวกซื้อ ที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ารายย่อย
“เราเป็นแบงก์ขนาดเล็ก การจะแข่งขันกับอุตสาหกรรมด้วยกัน ต้องสามารถตอบโจทย์ ลูกค้าในเรื่อง serve customer needs ช่องทางบริการที่ชัดเจน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง และไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้อาคารใหญ่พื้นที่มากให้สิ้นเปลืองต้นทุน อย่างการเปิดสาขาย่อยใน 7-Eleven ใช้งบลงทุนไม่ถึง 10% ของสาขาเต็มรูปแบบที่มีต้นทุนต่อสาขาต่อปี 5-15 ล้านบาท”
สาขาแบงก์ลดไซซ์-ลดจำนวน
ธีรนุช ขุมทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกค้ารายย่อย บมจ.ธนาคารธนชาต กล่าวว่า รูปแบบสาขาแบงก์พาณิชย์ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงโดยมีการจัดสรรพื้นที่สำหรับธุรกรรมที่ซับซ้อน เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านการเงิน ขณะเดียวกันก็จะเห็นพื้นที่ บริการด้วยตนเองหรือ self service ภาพรวมของอุตสาหกรรมแบงก์คงไม่เพิ่มสาขาและขนาดสาขาโดยทั่วไปจะลดลง
อุตสาหกรรมแบงก์ไทยเข้าสู่อิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มตัวหรือไม่ สาขาแบงก์ต้องควบรวมปิดสาขาลงอีกกี่แห่ง หรือปฏิรูปสาขาเฉกเช่นแบงก์ในยุโรปหรือไม่ ก็คงต้องจับตา ”พร้อมเพย์”ที่จะเปิดใช้ในอีกไม่กี่เดือนนี้เอง!
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 5 – 7 มกราคม พ.ศ.2560
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.thansettakij.com
รูปภาพประกอบ : http://www.digitalistmag.com
THAIPURCHASING.com !!! มี LINE Official แล้วรู้ยัง
สอบถามหาข้อมูลสินค้าหรือกิจกรรมต่างๆของเรา ได้ทุกวันผ่าน
กดถูกใจ FanPage เพื่อติดตามกิจกรรมของเราได้ที่ :
Facebook.com/thaipurchasing.tensho

Comment
New!

สถาปนิก 68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

หากท่านอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ไม่ควรพลาดงานนี้ !! งาน Thailand Oil & Gas Roadshow 2024

สถาปนิก’68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

แบรนด์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างชั้นนำกว่า 600 บริษัท ตบเท้าร่วมงานสถาปนิก’67 พร้อมโชว์นวัตกรรมสุดล้ำ
Popular

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทย

การส่งกำลังโดยใช้สายพาน

ประเภทสกรูและน็อต อุตสาหกรรม