สำหรับผู้ที่ต้องขับขี่ยานพาหนะพร้อมๆ กับการใช้ยาจึงควรระมัดระวังปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากยา และส่งผลเสียต่อการควบคุมยานพาหนะมียาหลายชนิดที่ส่งผลเสียต่อการขับขี่ยานพาหนะ ได้แก่
1. ยาต้านฮิสทามีน ที่นิยมเรียกว่า ยาแก้แพ้ หรือยาแก้โรคภูมิแพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน ที่พบทั้งชนิดที่เป็นยาเดี่ยวเม็ดสีเหลืองขนาดเล็ก และชนิดที่ผสมในยาแก้ไข้หวัดที่บรรจุแผงละ 4 เม็ด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการกดประสาท ง่วงนอน หรือหลับในได้
2. ยาคลายเครียด/คลายกังวล และยานอนหลับ เช่น ไดอะซีแพม อัลพราโซแลม ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และมักได้จากการสั่งจ่ายของแพทย์เท่านั้น เพื่อลดความกังวล ใจสั่น และนอนหลับยาก เมื่อใช้ยากลุ่มนี้อาจจะส่งผลต่อการขับขี่โดยตรง ทำให้เกิดอาการง่วงนอน มึนงง วิงเวียนศีรษะ
3. ยาแก้ปวด ชนิดที่ใช้กันอยู่ประจำ คือ พาราเซตามอล จะไม่ส่งผลต่อความสามารถในการขับขี่ จึงใช้ได้ในขณะขับรถ แต่ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมอนุพันธ์ของฝิ่น ซึ่งใช้ในรายที่ปวดรุนแรง เช่น ปวดข้อ ปวดฟัน จะส่งผลต่อการทำงานของสมองได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะด้วยตนเอง ขณะที่ใช้ยาชนิดนี้
4. ยาแก้โรคพาร์กินสัน/ยาแก้โรคซึมเศร้า/ยาแก้โรคจิต ยาเหล่านี้จะออกฤทธิ์ต่อสมอง และส่งผลต่อการทำงานของร่างกายในการรับรู้ของอวัยวะต่างๆ และสั่งการทำงานของแขนขาได้ ซึ่งจะต้องระวังเช่นกัน
ข้อมูลดีดีจาก : www.thaihealth.or.th/Content/36113-ยา..กับยานพาหนะ.html
ภาพประกอบ : www.autoriders.in/images/uploads/img6.jpg, www.haamor.com/media/images/articlepics/ยารักษาโรค-01.jpg
THAIPURCHASING.com !!! มี LINE Official แล้วรู้ยัง
สอบถามหาข้อมูลสินค้าหรือกิจกรรมต่างๆของเรา ได้ทุกวันผ่าน
กดถูกใจ FanPage เพื่อติดตามกิจกรรมของเราได้ที่ :
Facebook.com/thaipurchasing.tensho

Comment
New!

สถาปนิก 68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

หากท่านอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ไม่ควรพลาดงานนี้ !! งาน Thailand Oil & Gas Roadshow 2024

สถาปนิก’68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

แบรนด์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างชั้นนำกว่า 600 บริษัท ตบเท้าร่วมงานสถาปนิก’67 พร้อมโชว์นวัตกรรมสุดล้ำ
Popular

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทย

การส่งกำลังโดยใช้สายพาน

ประเภทสกรูและน็อต อุตสาหกรรม