สปป.ลาว เส้นทางสู่ตลาดอาเซียน 13 เขตเศรษกิจพิเศษ ดึงดูดการลงทุนต่างชาติ
แม้ว่า สปป.ลาว จะมีขนาดตลาดภายในประเทศที่ไม่ใหญ่มากนัก แต่ก็ยังเป็นอีกหนึ่งประเทศเนื้อหอมในอาเซียนที่นักลงทุนต่างชาติจับตามอง โดยเฉพาะนักลงทุนจากจีนและเวียดนาม เนื่องจากมีชายแดนติดกัน ทำให้สามารถใช้ สปป.ลาว เป็นตลาดและทางผ่านสู่ตลาดประเทศที่ 3 ได้
ยานี ศรีมีชัย อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ไทย ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว ให้ข้อมูลว่า สปป.ลาว ได้มีการประกาศกฎหมายส่งเสริมการลงทุน (ฉบับปรับปรุง) ใหม่ ที่มีผลบังคับใช้ไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพื่อเอื้อต่อการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ โดยเน้นให้การส่งเสริมการลงทุนใน 9 ประเภทกิจการ ได้แก่
1.การใช้เทคโนโลยี ขั้นสูง 2.กสิกรรมสะอาด 3.อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์กสิกรรม 4.การพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวธรรมชาติ 5.การศึกษา กีฬา-กายกรรม และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 6.สร้างโรงพยาบาลทันสมัย 7.การลงทุน การบริการ และการพัฒนาสาธารณูปโภค 8.ธนาคารนโยบายและสถาบันการเงินจุลภาค 9.ศูนย์การค้าทันสมัยเฉพาะธุรกิจบริการที่ต้องการมาก
ทั้งนี้ หลังกฎหมายลงทุนฉบับใหม่ประกาศใช้ ส่งผลให้ต่างชาติเริ่มจับตาเพื่อเข้าไปลงทุนมากขึ้น เพราะเงื่อนไขการลงทุนกำหนดไว้ว่า การลงทุนในกิจการที่จะส่งเสริมต้องมีมูลค่าอย่างน้อย 1,200 ล้านกีบ หรือประมาณ 4.8 ล้านบาทเท่านั้น มีการใช้นักวิชาการ สปป.ลาว 30 คนขึ้นไป หรือมีการใช้แรงงาน สปป.ลาว ที่มีสัญญาจ้างอย่างน้อย 1 ปี ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสเข้าไปลงทุนใน สปป.ลาว ให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอี
"สปป.ลาว ได้มีการปรับปรุงและแก้ไขแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันอยู่ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 8 (2559-2563) โดยต้องการผลักดันตัวเองจากประเทศด้อยพัฒนาให้เป็นประเทศกำลังพัฒนาภายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 9 ซึ่งสินค้าและธุรกิจที่มีโอกาสเข้าไปลงทุน คือ กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร ธุรกิจบริการและท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่อง" ยานี กล่าว
นอกจากนี้ สปป.ลาว กำลังเร่งเปิดส่งเสริมพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะ 13 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ บ่อเต็น สามเหลี่ยมทองคำ หลวงพระบาง ภูเขียว ท่าแขก สะหวัน-เซโน จำปาสัก เวียงจันทน์-โนนทอง (VITA Park) ไซเสดถา บึงธาตุหลาง ล่องแท่ง ดงโพสี และดงโพสี 2 เพื่อใช้เป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ
ปัจจุบันมีบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมลงทุนรวม 258 บริษัท แบ่งเป็นกิจการประเภท บริการ 44% อุตสาหกรรม 31% และการค้า 26% สามารถสร้างมูลค่าการส่งออกให้ สปป.ลาว ประมาณ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสร้างงานใน สปป.ลาวได้ 1.52 หมื่นตำแหน่ง โดยจีนเป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนใน สปป.ลาว มากเป็นอันดับ 1
"ปัจจุบันมีนักลงทุนจีน ไทย ออสเตรเลีย มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ ที่เข้าไปลงทุนแล้ว ขณะที่อินเดียเริ่มให้ความสนใจ เพราะการลงทุนรถไฟความเร็วสูงของจีนใน สปป.ลาว ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีบางพื้นที่ผ่านเส้นทาง R3A จึงทำให้ สปป.ลาว เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะด้านการส่งออก" ยานี กล่าว
การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ทำให้การค้าชายแดนของ สปป.ลาว มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็เป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของ สปป.ลาว ส่งผลให้รัฐบาล สปป.ลาว มีนโยบายส่งเสริมการค้าและการลงทุนของทั้งสองประเทศ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยและ สปป.ลาว ร่วมมือกันสร้างพันธมิตรทางการค้ามากขึ้น โดยเฉพาะในเขตนิคมอุตสาหกรรมเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะต่างๆ ของ สปป.ลาว
"สปป.ลาว ยังเป็นประเทศที่น่าสนใจและเป็นโอกาสของนักลงทุนไทย รวมถึงเป็นเส้นทางการส่งออกไปยังประเทศที่ 3 ที่มีศักยภาพน่าสนใจมากจนไม่อาจมองข้ามไปได้" ยานี สรุปภาพ สปป.ลาว
ที่มาข่าวจาก : http://www.posttoday.com/biz/aec/news/501424
ASEAN FAIR 2017 งานที่คุณสามารถขายสินค้า หาตัวแทนจำหน่าย สร้างเครือข่าย และขยายธุรกิจ สร้างมูลค่าได้มากกว่า 1800 ล้านบาท ภายใน 3 วัน พบกัน
13-15 ตุลาคม 2560 ณ สะหวันไอเตค แขวงสะหวันนะเขต
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
Tel. : 02-192-1685-6
Fax : 02-192-1689
Mobile : 086-310-2493 (K.แอม), 086-303-5847 (K.ตั้ม)
e-Mail : marketing@thaipurchasing.com

Comment
New!

สถาปนิก 68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

หากท่านอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ไม่ควรพลาดงานนี้ !! งาน Thailand Oil & Gas Roadshow 2024

สถาปนิก’68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

แบรนด์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างชั้นนำกว่า 600 บริษัท ตบเท้าร่วมงานสถาปนิก’67 พร้อมโชว์นวัตกรรมสุดล้ำ
Popular

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทย

การส่งกำลังโดยใช้สายพาน

ประเภทสกรูและน็อต อุตสาหกรรม