รับปริญญาวิกฤติ รถติดคับถนน! 5 ข้อไม่รู้โคตรพลาด ‘รื้อสะพานข้ามแยกเกษตร’ “รื้อสะพานข้ามแยกเกษตร”...อีกหนึ่งเรื่องหนักอกหนักใจของผู้สัญจรไปมาผ่านถนนในย่านดังกล่าว เพราะไม่ว่าจะเป็น วิภาวดี พหลโยธิน รัชดาภิเษก ต่างได้รับผลกระทบสืบเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ชนิดที่ว่า รถติดหนักสาหัสสากรรจ์นานเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี เพราะฉะนั้น คนกรุงฝั่งเกษตรฯ-พหลโยธินได้ใช้ชีวิต “สโลว์ไลฟ์” เรื่อยๆ มาเรียงๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นแน่ เหนือสิ่งอื่นใดที่คนกรุงฝั่งเกษตรฯ-พหลโยธิน ควรรับรู้และรับมือ มีอยู่ 5 ประการสำคัญ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ คัดเน้นๆ เฉพาะเรื่องสำคัญเกี่ยวกับ “รื้อสะพานข้ามแยกเกษตร” ที่คุณไม่รู้ไม่ได้ เพราะถ้าไม่รู้ คุณอาจจะสโลว์ไลฟ์แบบติดหนึบอย่างไม่รู้ตัวก็เป็นได้ |  | รื้อสะพานข้ามแยกเกษตร ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2558 เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชม. ทั้งนี้ใช้เวลา 60 วันในการรื้อสะพาน | | ข้อที่ 1 : คนไม่รู้ยังมี! รื้อสะพานข้ามแยกเกษตร รื้อทำไม รื้อนานแค่ไหน?
พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) ดูแลงานจราจร เปิดเผยว่า สะพานข้ามแยกเกษตรจะทำการปิดสะพาน เพื่อรื้อสะพาน ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2558 เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชม. ทั้งนี้ใช้เวลา 60 วันในการรื้อสะพาน |  | ระบบการจราจรบริเวณสี่แยกเกษตรศาสตร์ จะมีการปรับสัญญาณไฟจราจรใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพการจราจร | |
ก่อนการรื้อจะเริ่มต้น ในวันที่ 8 ก.ย. 2558 ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ผู้รับเหมาฯ จะดำเนินการติดตั้งแผงป้องกัน (Barrier) ในการรื้อย้ายสาธารณูปโภค ทั้งหมด 7 จุด ได้แก่ บริเวณหน้ากรมทหารราบที่ 11 (สถานีกรมทหารราบที่ 11) บริเวณปากซอยพหลโยธิน 57-61 (สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่) บริเวณปากซอยพหลโยธิน 67-69 (สถานีสายหยุด) บริเวณหน้าตลาดยิ่งเจริญ (สถานีสะพานใหม่) บริเวณหน้าโรงเรียนนายเรืออากาศ-แยก คปอ. บริเวณแยก คปอ.-โค้งประตูกรุงเทพฯ และบริเวณหน้า สภ.คูคต หลังรื้อเสร็จข้ามแยกเกษตรเป็นที่เรียบร้อย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะปิดสะพานข้ามแยกเกษตร ตั้งแต่เวลา 22.00 น. ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี เพื่อก่อสร้างโครงการรถ ไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ |  | รื้อสะพานข้ามแยกเกษตร ตั้งแต่เวลา 22.00 น. ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว | | ข้อที่ 2 : เปิดงบประมาณ รื้อสะพานข้ามแยกเกษตร
ทีมข่าวได้ติดต่อไปยัง นายภัทรรุตม์ ทรรทรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักการโยธา เพื่อสอบถามถึงงบประมาณในการรื้อสะพานข้ามแยกเกษตร ได้รับคำตอบเพียงสั้นๆ ว่า ให้ไปสอบถามกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพราะรฟม. มีหน้าที่ดูแลเรื่องการก่อสร้างโดยตรง ทั้งนี้ ทีมข่าวจึงติดต่อไปยัง นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม. ซึ่งนายพีระยุทธ ชี้แจงเพียงสั้นๆ ว่า จำนวนตัวเลขงบประมาณระบุไว้ในสัญญา ซึ่งรวมกับงบประมาณการก่อสร้างและการรื้อสะพานเกษตร ซึ่งตนไม่ทราบข้อมูลตัวเลขดังกล่าว |  | รื้อสะพานข้ามแยกเกษตรนั้น ย่อมสร้างความกังวลแก่ประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบด้านการจราจรที่จะเกิดขึ้นในช่วงก่อสร้าง | | ข้อที่ 3 : ติดหนึบแน่นหนับ! ผลกระทบหลังรื้อ รับปริญญาสุดป่วน รถแออัดคับถนน
ไม่ว่าจะรื้อสะพานรัชโยธิน หรือรื้อสะพานข้ามแยกเกษตรนั้น ย่อมสร้างความกังวลแก่ประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบด้านการจราจรที่จะเกิดขึ้นในช่วงก่อสร้าง นายศรปราชญ์ ธไนศวรรยางกูร รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ได้แสดงความเป็นห่วงสภาพการจราจรโดยรอบมหาวิทยาลัยหลังรื้อสะพานข้ามแยกเกษตรในวันที่ 12 ก.ย.นี้ โดยระบุว่า ในเดือน ต.ค.2558 จะมีพิธีพระราชทานปริญญาบัตร โดยเริ่มซ้อมย่อยตั้งแต่วันที่ 3-4 ต.ค. ซ้อมใหญ่ 22-24 ต.ค. และวันรับจริงวันที่ 26-30 ต.ค.2558 จึงเสนอให้ผู้รับเหมาพิจารณาเลื่อนรื้อสะพานข้ามแยกเกษตรออกไปก่อน |  | ผลกระทบหลังการรื้อสะพานข้ามแยกเกษตร คาดว่ารถติดหนึบคับถนน โปรดเลี่ยงการจราจรเส้นทางดังกล่าว | |  | ผลกระทบหลังรื้อ รถแออัดคับถนน | | นางสาวภาวิณี สัมฤทธิ์ผ่อง อายุ 22 ปี ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แสดงความคิดเห็นว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับโครงการสร้างรถไฟฟ้า เพราะบ้านที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่อการเดินทางในอนาคต สะดวก และรวดเร็วมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ผลกระทบในระหว่างการก่อสร้างอาจเกิดขึ้น เนื่องจากชีวิตประจำวันต้องใช้เส้นทางบนสะพานข้ามแยกเกษตรเป็นประจำ ทำให้ค่อนข้างกังวลใจเกี่ยวกับปัญหารถติดที่จะตามมา |  | ผลกระทบด้านการจราจรที่จะเกิดขึ้นในช่วงก่อสร้าง | | ข้อที่ 4 : เปิดหนทางบรรเทาวิกฤติรถติดแยกเกษตร ช่วงก่อสร้างรถไฟฟ้า
พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น. กล่าวว่า ระบบการจราจรบริเวณสี่แยกเกษตรศาสตร์ จะมีการปรับสัญญาณไฟจราจรใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพการจราจร โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน เพื่อระบายรถในช่วงขาออกให้ได้มากที่สุด นายพีระยุทธ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวถึงสิ่งที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนหลังปิดสะพานข้ามแยกเกษตรว่า บริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างจะต้องเข้าไปทุบสะพาน เพื่อก่อสร้างแนวเส้นทางรถไฟฟ้า โดยในอนาคตจะสร้างสะพานข้ามแยกเกษตรขึ้นทดแทน ซึ่งจะเป็นสะพานที่เกาะตามโครงสร้างของรถไฟฟ้าสายสีเขียว |  | บริเวณสี่แยกเกษตรศาสตร์ จะมีการปรับสัญญาณไฟจราจรใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพการจราจร ในช่วงเวลาเร่งด่วน | | ข้อ 5 : แนะทางเลี่ยง รับมือกทม.ลุยสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว
พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น. กล่าวว่า ได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทาง ไปใช้ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนประเสริฐมนูกิจ (เกษตร-นวมินทร์) และถนนลาดพร้าว-วังหิน ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวถึงทางเลี่ยงหลังรื้อสะพานข้ามแยกเกษตรว่า หากไม่มีความจำเป็นโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างการจัดทำเส้นทางทดแทน เพื่อเป็นทางเลี่ยงทางเลือกให้ผู้ใช้รถใช้ถนน. |  | หลังรื้อสะพานข้ามแยกเกษตร หากไม่มีความจำเป็นโปรดหลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางดังกล่าว | |  | ประชาชนอาจจะต้องหลีกเลี่ยงเส้นทาง ไปใช้ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนประเสริฐมนูกิจ (เกษตร-นวมินทร์) และถนนลาดพร้าว-วังหิน | | ข้อมูลและรูปภาพ : http://www.thairath.co.th/content/522975 |