อุทยานราชภักดิ์ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งใหม่ในหัวหิน

4.0K



อุทยานราชภักดิ์ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งใหม่ในหัวหิน

 
อุทยานราชภักดิ์ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งใหม่ในหัวหิน
 

 

           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองทัพบกจัดสร้าง "พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม" พร้อมจัดสร้างอุทยานประวัติศาสตร์โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า “อุทยานราชภักดิ์" ซึ่งเป็นอุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และเพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม ๗ พระองค์ ได้แก่

๑. พ่อขุนรามคำแหง (สมัยกรุงสุโขทัย)

 
พ่อขุนรามคำแหง (สมัยกรุงสุโขทัย)
 

 

๒. สมเด็จพระนเรศวร (สมัยกรุงศรีอยุธยา)

 
สมเด็จพระนเรศวร (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
 

 

๓. สมเด็จพระนารายณ์ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)

 
สมเด็จพระนารายณ์ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
 

 

๔. สมเด็จพระเจ้าตากสิน (สมัยกรุงธนบุรี)

 
สมเด็จพระเจ้าตากสิน (สมัยกรุงธนบุรี)
 

 

๕. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)

 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
 

 

๖. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)

 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
 

 

๗. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)

 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
 

           ซึ่งทุกพระองค์ล้วนทรงสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ


พื้นที่และกรอบแนวคิดการจัดสร้าง

กองทัพบก จะดำเนินการจัดสร้าง อุทยานราชภักดิ์ ภายในพื้นที่ของกองทัพบก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้พื้นที่ก่อสร้างรวมทั้งสิ้น ๒๒๒ ไร่เศษ ซึ่งองค์ประกอบภาพรวมของอุทยานราชภักดิ์ จะมีโครงสร้างหลักที่สำคัญ จำนวน ๓ ส่วนหลัก ประกอบด้วย

 
อุทยานราชภักดิ์ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งใหม่ในหัวหิน
 


           ส่วนที่ ๑ : พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์ แห่งสยาม จำนวน ๗ พระองค์ โดยน้อมถวายพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์แต่ละยุคสมัยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ชึ่งพระนามแต่ละพระองค์เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้พื้นที่ประมาณ ๕ ไร่ โดยรูปแบบของพระบรมราชานุสาวรีย์ จะจัดสร้างในลักษณะพระอิริยาบถทรงยืน ความสูงเฉลี่ยไม่เกิน ๑๓.๙ เมตร หล่อด้วยโลหะสำริดนอก

 
อุทยานราชภักดิ์ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งใหม่ในหัวหิน
 


           ส่วนที่ ๒ : ลานอเนกประสงค์ มีเนื้อที่ประมาณ ๙๑ ไร่ ใช้สำหรับกระทำพิธีที่สำคัญของกองทัพ และรับรองบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ
           ส่วนที่ ๓ : อาคารพิพิธภัณฑ์ หรือห้องจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ โดยการค้นคว้า รวบรวม และจัดทำพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่สำคัญของบูรพกษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยจะดำเนินการจัดสร้างบริเวณด้านล่างของฐานพระบรมราชานุสาวรีย์
           พื้นที่ส่วนที่เหลือจำนวน ๑๒๖ ไร่ จะเป็นสภาพภูมิทัศน์โดยรอบ และการจัดสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวก

 
อุทยานราชภักดิ์ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งใหม่ในหัวหิน
 


กรอบระยะเวลาดำเนินงาน

           ๑. การจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม จำนวน ๗ พระองค์ และการก่อสร้างลานอเนกประสงค์
ตั้งแต่เดือน พ.ย.๕๗-ส.ค.๕๘ รวมระยะเวลา ๑๐ เดือน
           ๒. การจัดทำนิทรรศการแสดงพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบูรพกษัตริย์ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในห้องพิพิธภัณฑ์ โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ย.๕๘ เป็นต้นไป หรือภายหลังจากการก่อสร้างฐานและพระบรมราชานุสาวรีย์เสร็จเรียบร้อย

 
อุทยานราชภักดิ์ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งใหม่ในหัวหิน
 
อุทยานราชภักดิ์ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งใหม่ในหัวหิน
 

 

 


ข้อมูลและรูปภาพ : www.rta.mi.th/RTAweb/pageinfor/weppage.html, travel.mthai.com/blog/121494.html

sendLINE

Comment