ความสำคัญของการเกษตร

32.3K



ความสำคัญของการเกษตร

 

การเกษตรมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ โดยรู้จักใช้ประโยชน์ อย่างหลากหลายจากพืช สัตว์ ในชีวิตประจำวัน และในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง ความสำคัญของการเกษตรมีดังต่อไปนี้

1. เกษตรกับชีวิตประจำวัน
ในอดีตมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ โดยการล่าสัตว์ เก็บพืชผักจากป่ามากินเป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามถ้ำหรือเพิงที่สร้างจากกิ่งไม้ ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักเพาะปลูกพืช รู้จักเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำการเกษตร ทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน แม้วิทยาการ ต่าง ๆ จะเจริญก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ก็ยังคงอาศัยผลผลิตที่ได้จากการเกษตรเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตเช่นเดิม กล่าวคือ
    1.1  เป็นวัตถุดิบในการผลิตปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค โดยมนุษย์รู้จักเก็บเกี่ยวผลผลิตทางเกษตร นำไปประกอบอาหารรับประทาน สร้างความเจริญเติบโต แก่ร่างกาย นำส่วนต่าง ๆ ของพืชเส้นใยไปผลิตสิ่งทอหรือใช้หนังสัตว์ทำเครื่องนุ่งห่ม ปลูกป่า เพื่อนำไม้ไปเป็นอุปกรณ์การก่อสร้าง สร้างที่พักอาศัย อาคารสถานที่ ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่าง ๆ และปลูกพืชสมุนไพร เพื่อนำไปใช้เป็นยารักษาโรค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ของมนุษย์ทั้งสิ้น
    1.2 เป็นงานที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยเกษตรกรสามารถนำผลผลิตทางการเกษตรที่ เหลือจากการบริโภค ใช้สอยประโยชน์ในครอบครัวไปจัดจำหน่ายแก่ผู้อื่นได้ทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
    1.3 เป็นแหล่ง ให้ความร่มรื่นสวยงาม การทำการเกษตรมิได้ให้ประโยชน์ ทางด้านการบริโภค หรือการค้าเท่านั้น แต่ยังให้ความร่มรื่น ความเพลิดเพลิน ความสวยงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยอีกด้วย เพื่อให้คนได้ใช้เป็นที่ผ่อนคลายอารมณ์ เช่น การไปเที่ยวสวนธารณะ การเลี้ยงปลาสวยงาม เป็นต้น
    1.4 ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่มีเวลาว่างจากการประกอบอาชีพหลัก สามารถทำการเกษตร เช่น ปลูกไม้ประดับ พืชผักสวนครัว เลี้ยงไก่ เป็นงานอดิเรก เพื่อไม่ให้เวลาว่างนั้นเปล่าประโยชน์หรือแม้แต่ชาวนา หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วอาจปลูกถั่วในที่นา ก็จะมีงานทำตลอดปี

2. เกษตรกับความเจริญของประเทศ
    การเกษตรเป็นงานที่สำคัญมากสำหรับประเทศไทย เพราะเป็นงานที่สร้างเสริม ความสุขสมบูรณ์ให้แก่บ้านเมืองโดยส่วนรวม ผลิตผลทางการเกษตรเป็นปัจจัยสนับสนุน ให้เกิดสินค้า อาหาร ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้ภายในประเทศและส่งจำหน่ายเป็นสินค้าออก อาจกล่าวได้ว่า การเกษตรมีความสำคัญต่อความเจริญของประเทศ ดังต่อไปนี้
    2.1 เป็นอาชีพหลักของคนไทย  ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางการเกษตร แม้จะมีการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมในหลาย ๆ ด้าน ประชากรส่วนใหญ่ขอแรงงานไทยของสำนักงาน สถิติแห่งชาติปี 2537 พบว่าผู้มีงานทำร้อยละ 56.09 ประกอบอาชีพทางการเกษตร ส่วนที่เหลือ ประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น ค้าขาย งานช่าง งานบริการ งานวิชาการ เป็นต้น จึงนับได้ว่า เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของคนไทยของ
ประเทศก็ยังคงประกอบอาชีพทางเกษตร โดยเฉพาะในต่างจังหวัด จากการสำรวจ
    2.2 เป็นแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศ  ผลิตผลทางการเกษตรสามารถนำเข้าโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อ้อย ผลิตเพื่อป้อนโรงงานน้ำตาลปลาต่าง ๆ ส่งเข้าโรงงานปลากระป๋อง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน ส่งเข้าโรงงานผักกระป๋องหรือผักแช่แข็ง เป็นต้น สินค้าเหล่านี้ ล้วนส่งออกไปขายต่างประเทศ ทำให้ประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น
    นอกจากอุตสาหกรรมเกษตรดังกล่าวแล้ว สินค้าเกษตรบางชนิดยังผลิตขึ้นเพื่อป้อน อุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ฝ้าย ผลิตเพื่อป้อนโรงงานทอผ้า ซึ่งจะนำไปใช้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปต่อไป การผลิตพืชสมุนไพรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเคมีและเภสัชกรรม เป็นต้น
    2.3 เป็นปัจจัยส่งเสริมธุรกิจและบริการผลิตผลทางการเกษตรของประเทศไทย มีหลายประเภท ซึ่งมีคุณภาพดีและเป็นที่ยอมรับของต่างชาติ เช่น ไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งผลไม้เมืองร้อน เช่น มะม่วง ทุเรียน มังคุด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีส่วนช่วยดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวเมืองไทยเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาชีพด้านธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการเพิ่มขึ้น
    2.4 ผลิตผลทางการเกษตรเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ จากรายงานเศรษฐกิจและการเงิน ปี 2540 ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขาย ได้ สูงขึ้นจากปี 2539 คิดเป็นร้อยละ 3.1 โดยเฉพาะสินค้าหมวดปลาและสัตว์น้ำ เพิ่มถึงร้อยละ 15.3 ทำให้เกษตรกรมี รายได้เพิ่มสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการเพิ่มปริมาณการผลิต ขยายพื้นที่เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ประมงและผลิตผลที่ได้อยู่ในเกณฑ์ดี  สินค้าเกษตรนอกจากจะทำรายได้หลักภายในประเทศแล้ว ยังมีการส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ เพิ่มรายได้ให้กับประเทศไทย ดังปรากฏในตาราง

ที่ ประเภทสินค้า พ.ศ.  2547 พ.ศ. 2548 การเปลี่ยนแปลง ( ร้อยละ )
1 ข้าว 50,734 65,093 28.3
2 ยางพารา 63,373 57,450 -9.3
3 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 20,651 22,458 8.7
4 เป็ดไก่แช่เย็น 9,085 10,949 20.5
5 กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง 43,404 47,183 8.7
  รวมมูลค่า 187,247 203,133 8.4

    2.5 เป็นปัจจัยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ
    การเกษตรมีความสำคัญในแง่ของการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จากการที่เรามีผลิตผลทางการเกษตรเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ  เกษตรกรมีรายได้ มีฐานะดีขึ้น ประชาชนกินดีอยู่ดี ไม่อดอยาก นอกจากนี้ยังมีผลิตผลเหลือส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ นำรายได้เข้าประเทศ  เป็นจำนวนมาก  ซึ่งเป็นฐานทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.permpolpoonsub.com/knowledge-detail.php?id=1772

 

sendLINE

Comment