วันวิสาขบูชา 1 มิ.ย. ขสมก. จัดรถเมล์ฟรี ไหว้พระเกาะรัตนโกสินทร์
วันวิสาขบูชา 1 มิ.ย. ขสมก. จัดรถเมล์ฟรี ไหว้พระเกาะรัตนโกสินทร์
ขสมก. จัดรถเมล์ฟรีให้บริการ จำนวน 20 คัน นำประชาชนเดินทางไปไหว้พระรอบเกาะรัตนโกสินทร์ โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.
![]() |
องค์การ ขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เตรียมจัดรถเมล์ฟรีให้บริการ จำนวน 20 คัน นำประชาชนเดินทางไปไหว้พระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. รับ-ส่งผู้ใช้บริการจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ อู่หมอชิต 2 ถึงวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
สำหรับรถเมล์ที่จัดให้บริการครั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถสังเกตได้จากป้ายหน้ารถจะมีข้อความ "รถเมล์ฟรีไหว้พระรอบเกาะรัตนโกสินทร์" โดยมีเส้นทางให้บริการผ่านวัดต่าง ๆ จำนวน 9 วัด ได้แก่
- วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
- วัดสามพระยาวรวิหาร
- วัดบวรนิเวศวรวิหาร
- วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
- วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
- วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
- วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
- วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร
- วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
นอก จากนี้ ขสมก. ยังได้จัดเจ้าหน้าที่สายตรวจพิเศษ และนายตรวจให้บริการผู้โดยสารตามจุดบริการ ณ วัดต่าง ๆ ในเส้นทางที่รถวิ่งผ่าน และจัดตั้งศูนย์อำนวยการที่อู่หมอชิต 2 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอีกด้วย
" วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร "
![]() |
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกว่า "The Marble Temple" เพราะพระอุโบสถ พระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี ประกอบกับเป็นวัดที่มีความวิจิตรงดงามด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจเข้าชมจำนวนมากทุกวัน
" วัดสามพระยาวรวิหาร "
![]() |
วัดสามพระยาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่ท้องที่แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดสามพระยาเดิมเป็นวัดราษฎร์ เรียกว่าวัดสักบ้าง วัดบางขุนพรหมบ้าง สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้มีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะมาโดยลำดับ
" วัดบวรนิเวศวรวิหาร "
![]() |
วัดบวรนิเวศวิหารเป็นวัดชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพฯ แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดใหม่อยุ่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาได้รวมเข้าเป็น วัดเดียวกัน โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างขั้นใหม่ วัดนี้ ได้รับการทะนุบำรุง และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นจนเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง โดยเฉพาะในสมัย ปลายรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนา สมเด็จพระ อนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งผนวชเป็นพระภิกษุ อยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เสด็จมาครอง เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕ ทำให้วัดนี้ได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ และเสริมสร้างสิ่งต่างๆขึ้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชาคณะเสด็จประทับที่วัดนี้แล้วทรง บูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุต่างๆเพิ่มเติมขึ้นหลายอย่าง พร้อมทั้งได้รับพระราชทาน ตำหนักจากรัชกาลที่ ๓ ด้วย ในสมัยต่อมาวัดนี้ เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรง ผนวชหลายพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ในปัจจุบัน นี้ ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และ ศิลปวัตถุ หลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และ ศึกษาได้ เป็นจำนวนไม่น้อย
" วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร "
![]() |
วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่เหนือคลองโรงไหม ริมถนนจักรพงษ์ (สะพานเลี้ยว) แต่เดิมอยู่กลางทุ่งนาจึงเรียกว่าวัดกลางนา สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสถาปนาวันนี้ขึ้นมาใหม่ และรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ทหารรามัญใน กองทัพของสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดตองปุ" ตามแบบวัดตองปุในสมัยอยุธยา ต่อมาเมื่อมีชัยชนะต่อกองทหารข้าศึก จึงพระราชทานพระอารามใหม่ว่า "วัดชนะสงคราม"
"วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร "
![]() |
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่าวัดสลัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุ รสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถาน มงคล
" วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) "
![]() |
วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกและเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย
" วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) "
![]() |
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระแก้ว นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗
เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
" วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร "
![]() |
วัดนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้น แต่ทรงสร้างค้างไว้แต่เพียงรากพระวิหาร ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างใหม่ทั้งอาราม ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก
" วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร "
![]() |
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดสระเกศ) อยู่ริมคลองมหานาคและคลองรอบกรุง ใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เป็นวัดโบราญในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนานเมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามา ปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๒๕
ภาพจาก http://www.dhammathai.org,http://travel.mthai.com/wp-content/uploads/2014/05/chaophaya-image.png
ข้อมูลจาก http://travel.kapook.com/view120086.html, http://www.dhammathai.org

Comment
New!

สถาปนิก 68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

หากท่านอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ไม่ควรพลาดงานนี้ !! งาน Thailand Oil & Gas Roadshow 2024

สถาปนิก’68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

แบรนด์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างชั้นนำกว่า 600 บริษัท ตบเท้าร่วมงานสถาปนิก’67 พร้อมโชว์นวัตกรรมสุดล้ำ
Popular

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทย

การส่งกำลังโดยใช้สายพาน

ประเภทสกรูและน็อต อุตสาหกรรม